Thailandfreedom-ฟรีดาวน์โหลด โปรแกรม,เพลง
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Thailandfreedom-ฟรีดาวน์โหลด โปรแกรม,เพลง

Wedsite In the state trial.
 
บ้านบ้าน  ค้นหาค้นหา  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  แชทกัน 24 hrแชทกัน 24 hr  
CNG LINK
P&T Hosting Co., Ltd. :: บริการ | จดโดเมนเนม | เว็บโฮสติ้ง | VPS | Co-location |

 

 Linux มาทำความรู้จักกานครับ

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
รักษาการบอร์ด
รักษาการบอร์ด
Admin


จำนวนข้อความ : 64
Join date : 14/02/2010

Linux  มาทำความรู้จักกานครับ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Linux มาทำความรู้จักกานครับ   Linux  มาทำความรู้จักกานครับ EmptyMon Feb 15, 2010 2:47 pm

Permalink: ข้อมูล เกี่ยวกับ ลีนุกซ์

ลีนุกซ์ เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการ (Operating System) ตัวหนึ่ง เช่นเดียวกับ ดอส (Dos), Windows95/98, WindowsNT, OS/2 หรือ Unix โดยที่ลีนุกซ์ถูกออกแบบ มาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ pc (personel computer) ทั่วไป ที่ใช้ตัวประมวลผล (CPU) ตระกูลX86ของ Intel (อินเทล) เช่น 80386, 486, Pentium เป็นต้น แต่ในปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนา เพื่อให้สามารถใช้งานได้บนตัวประมวลผลอื่นๆ ด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เป็นต้น


ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ แบบ 32 บิต ที่มีความเข้ากันได้ และมีคุณลักษณะของระบบ UNIX (ยูนิกซ์) ลีนุกซ์เป็นระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser), หลายงาน (Multitasking) อย่างแท้จริง โดยความหมาย ทางเทคนิคแล้ว ลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) หรือ แกนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งลีนุกซ์ถูกเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ได้ดัดแปลงโค้ด (โปรแกรม) มาจากยูนิกซ์ตัวอื่น ๆ
ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ซึ่งระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น คือ Minix (มินิกซ์) ยังมีความสามารถน้อย โทรวัลด์สจึงได้ทำการพัฒนา ระบบปฎิบัติการ ของตนเองขึ้นมาชื่อว่า "ลีนุกซ์" โดยร่วมกันพัฒนากับเพื่อน ๆ และทำการแจกซอร์สโค้ด ให้สามารถนำไปพัฒนาต่อได้บนอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันลีนุกซ์หาได้ในอินเตอร์เน็ต และกำลังเป็นที่นิยม จึงมีเหล่า โปรแกรมเมอร์มากมาย ช่วยกันพัฒนาโปรแกรมต่างๆ โดยที่เกือบจะทุกโปรแกรม ที่รันบนลีนุกซ์ และแม้แต่ตัวเคอร์เนลเอง ยังถูกแจกจ่ายไปพร้อมกับซอร์สโค้ด ดังนั้นคุณก็สามารถที่จะ ปรับปรุงโปรแกรมต่างๆ ได้ด้วยตนเองและยังมีที่ ๆคุณ จะสามารถขอความช่วยเหลือต่างๆ ได้ตลอดบนอินเตอร์เน็ต ข้อสำคัญ "ฟรี" ครับ
เนื่องจากลีนุกซ์เป็นของฟรี เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด(แจกซอร์สโค้ด) มีความสามารถแบบยูนิกซ์ สนับสนุนโปรโตคอลแบบ TCP/IP ,SLIP, PPP, UUCP และอื่นๆ มีคุณสมบัติทางเน็ตเวอร์ แบบยูนิกซ์อีกมากมาย สนับสนุนระบบไฟล ์ของระบบปฏิบัติการ หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น DOS (FAT), Windows95 (VFAT หรือ FAT32), WindowsNT (NTFS) และยังสามารถใช้งานร่วมกับ DOS และ Windows ได้ โดยที่คุณสามารถ ติดตั้งลีนุกซ์ลงบนพาร์ติชันของ DOS / Windows และยังจะเขียน/อ่าน แผ่นดิสก์ หรือฮาร์ดดิสค์ที่ถูกฟอร์แมตโดย DOS/Windowsได้ โดยตรงครับ ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ แม้แต่บริษัทรายใหญ่(เช่นบริษัททำภาพยนต์เอนิเมชั่นต่าง ๆ) หลายแห่งก็ได้เลือกใช้ลีนุกซ์ (มีข่าวลือว่า แม้แต่พนักงานของ IBM และ Microsoft ก็ยังมีลีนุกซ์ไว้ใช้งานซะเลย ^_^ )
ลีนุกซ์สามารถรันได้ บนเครื่องที่มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ตั้งแต่ 80386 / SX ขึ้นไป หน่วยความจำ 2 เมกะไบต์ ฟลอบปี้ดิสค์ขนาด 1.44 หรือ 1.2 เมกะไบต์ การ์ดแสดงผล และจอภาพแบบโมโนโครม (ซึ่งน้อยไปสำหรับ Windows ) สามารถใช้ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสค์, ซีดีรอม, การ์ดเสียง, เครื่องพิมพ์ ได้เหมือนกับ windows (สรุปว่ากินทรัพยากรน้อยกว่าว่างั้นเถอะ..)
โดย รวมนั้นลีนุกซ์ยังคงเหมาะ กับการใช้งานทางด้านเน็ตเวิร์ก ( เพราะคุณสมบัติทางเน็ตเวิกร์ดีมาก ๆ ) หรือผู้ที่สนใจจะศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ตัวระบบปฏิบัติการหรือ พัฒนาโปรแกรม จะยังไม่เหมาะสมเท่าใหร่ กับการใช้งานโดยทั่วๆไป หรืออย่างน้อยในตอนนี้ ก็ยังไม่สามารถจะใช้แทน Windows ได้อย่างสบายๆ เพราะลีนุกซ์เอง เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน และใช้งานได้ยากกว่า ( ดีกว่าแต่ใช้ยากกว่าครับ ) แต่ในอนาคต ยังคงมีโปรแกรมเมอร์อีกมายมาย ที่กำลังพัฒนาลีนุกซ์ และโปรแกรมบนลีนุกซ์ ให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ( อย่างเช่น KDE เป็นต้น ) โดยเฉพาะภาษาไทยโปรแกรมเมอร์คนไทย ก็ได้ช่วยกันพัฒนาให้ลีนุกซ์ใช้ภาษาไทยกันได้แล้วครับ..
* แล้วผมก็ลืมที่จะบอกถึง ข้อเสียที่สำคัญของลีนุกซ์ สำหรับท่านที่เพิ่งเริ่มรู้จัก และคิดว่าลีนุกซ์เป็นเรื่องน่าสนใจ ที่คิดจะลองเล่นโดยคิดว่า จะเหมือนกับแค่ลงโปรแกรม สักโปรแกรมหนึ่งบนวินโดว์ละก็ เสียใจครับ สีนุกซ์นั้นดีจริงแต่ไม่ใช่ง่าย ๆ ครับ ^_^
- เป็น os (operarting system) 32 บิท.
- multitasking : ทำงานหลายงานได้ในเวลาเดียวกัน
- multiuser : ผู้ใช้หลายคนใช้งานภายในเครื่องเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน
- ถ้าเอา multitasking,multiuser มารวมกัน ก็หมายความว่า เครื่องใด ๆที่ใช้ลีนุกซ์ สามารถใช้ได้หลาย ๆ คน แต่ละคนใช้หลาย ๆ โปรแกรม ทั้งหมดนี่ในเวลาเดียวกันครับ
- multiplatform : สามารถทำได้ในซีพียูหลายตระกูลไม่เฉพาะแต่ Intel เท่านั้น
- multiprocessor : SMP รองรับการทำงานแบบหลายซีพียู ในขณะนี้ทำงานได้บนชิพ Intel และ SPARC ส่วนเพลตฟอร์มอื่น ๆกำลังพัฒนา
- มีการป้องกันหน่วยความจำ คือเป็นการป้องกัน การรบกวนระหว่างโปรเซส เพราะมันคือที่มาที่จะทำให้ระบบล่ม
- demand loads executables : หมายถึงเฉพาะส่วนของโปรแกรมที่ถูกเรียกทำงานเท่านั้น ที่จะถูกอ่านจากดิสค์เข้าหน่วยความจำ ช่วยให้การใช้งานหน่วยความจำมีประสิทธิภาพ
- copy-on-write : คือการที่หลาย ๆโปรเซสสามารถใช้งานในหน่วยความจำส่วนเดียวกันได้ (คือต้องการข้อมูลที่เหมือนกันเช่นโปรแกรมเดียวกัน) และถ้ามีโปรเซสใดต้องการจะเขียนก็จะถูกย้าย ให้ไปเขียนที่อื่นโดยไม่ไปรบกวน โปรเซสอื่น ๆ ช่วยให้เพิ่มความเร็ว และประหยัดหน่วยความจำ
- การใช้หน่วยความจำเสมือน ใช้วิธี paging คือทำแบบแยกส่วนกันและปรับขนาดได้ ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถรองรับได้ถึง 2 GB
- unified memory pool : สำหรับใช้หน่วยความจำเป็นดิสค์แคช คือหน่วยความจำที่ว่างทั้งหมด จะถูกใช้งานเป็นดิสค์แคช และจะลดขนาดของดิสค์แคชลง เมื่อมีความต้องการใช้งานหน่วยความจำหรือโหลดโปรแกรมเพิ่มขึ้น
- dynamically linked shared libraries (DLL's) : เหมือนกับDLLของWindows คือเป็นไลบราลี่ไฟล์ ที่ใช้งานร่วมกัน ( เช่น วาดกรอบ ของวินโดว์ ) การเขียนเป็นไลบราลี่ไว้เรียกใช้ ช่วยให้โปรแกรมมีขนาดเล็กลงมาก
- core dumps : ใช้ในการทดสอบโปรแกรม(ดีบัก) เพื่อหาหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม
- มีคุณสมบัติ เข้ากันได้กับมาตรฐาน POSIX System V และ BSD ในระดับซอร์สโค้ด คือเข้ากันได้ กับยูนิกซ์ทั่ว ๆไปเช่น นำซอร์สโค้ดของยูนิกซ์มาคอมไพล์ได้โดยไม่ต้องแก้ไขเลย
- 387-emulation : ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ใช้ลีนุกซ์เสมือนกับว่ามี math co-processor (ตัวคำนวนทางทศนิยม ) หรือที่เรียกว่า FPU และถ้าเครื่องของคุณมี math co-processor อยู่แล้วก็สามารถที่จะถอดออกจากเคอร์เนล เพื่อเป็นการประหยัดหน่วยความจำได้ด้วย
- สามารถเข้าถึงและใช้งานพาติชันของ DOS, OS/2 FAT, MS-DOS6 compressed(ที่บีบอัดข้อมูล), VFAT(Win95-NT),FAT32(Win98)
- อ่านอย่างเดียว กับ HPFS-2 พาติชันของ OS/2 version 2.1
- HPFS ระบบ ไฟล์ของ Macintosh (มีโมดูลเสริมต่างหาก)
- CD-ROM แบบฟอร์มของ cd-rom
- TCP/IP รองรับเต็มรูปแบบ ทั้ง ftp, telnet, NFS หรือจะเป็นโปรโตคอลต่าง ๆ เช่น TCP, IPv4, IPv6, AX.25, X.25, IPX, DDP เป็นต้น
- Appletalk server : Server ของแมคอินทอช
- ข้อสำคัญ Linux เป็นของฟรี ซอร์สโค้ด,เคอร์เนล,ไดร์เวอร์ก็ฟรี เพราะว่าลิขสิทธิ์ของ General Public License (GPL.) โดยการควบคุมของ Free Software Foundation จึงสามารถแจกจ่ายกันได้ ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ แม้แต่บาทเดียว
คราว นี้เราจะมาพูดถึง เรื่องการติดตั้งลีนุกซ์กันนะครับ การติดตั้งนั้น จะแบ่งออกเป็นตอน ๆ จะเริ่มตั้งแต่พื้นฐาน เพราะเราจะเน้นสำหรับผู้เริ่มต้น ครับสำหรับตอนนี้จะเป็นการติดตั้ง slackware 3.4 จริง ๆแล้วในการติดตั้งลีนุกซ์ในตระกูลของ slackware ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นใดๆก็ตาม การติดตั้งก็จะคล้าย ๆ กัน แต่ก่อนจะติดตั้ง เรามารู้จักพื้นฐานกันสักเล็กน้อย และจะง่ายขึ้นถ้าเคยผ่านการใช้ดอสมาก่อน
พาติชั่น แปลเป็นไทยตรง ๆก็แปลว่าเครื่องกั้น ก็คือแบ่งพื้นที่ในฮาร์ทดิสก็ออกเป็นส่วน ๆ ใช่แล้วครับ ท่านสามารถแบ่งใช้งานได้หลายระบบปฏิบัติการ ในฮาร์ทดิสก์ตัวเดียวเช่นมีทั้ง ลีนุกซ์, วินโดว์98 ,ดอส เหมาะสำหรับท่านที่ชอบหลายแบบ เดี๋ยว ๆอย่าเพิ่งว่า แล้วจะไปใช้หลายอย่างทำไม ? ในความเป็นจริงก็คือทุกระบบ มันมีข้อดีของมันที่ระบบอื่นไม่มี ยกตัวอย่างเช่นวินโดว์ ต้องยกให้เรื่องเกมส์ คุณคงไม่เถียงผมนะ ส่วนลีนุกซ์ก็พอที่จะใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ ถ้าคุณไม่เกี่ยงกับภาษาไทยที่ไม่ค่อยจะได้เรื่องนัก แต่แลกกับความเสถียร ที่คุณจะไม่เสียประสาทอย่างในวินโดว์ การที่จะฟังเพลง (MP3) แล้วแทบจะทำอย่างอื่นไม่ได้อีกเลย ถ้าได้ก็ช้า หรือไม่ก็แฮงก์ซะเลยจริงมั๊ย แต่บนลีนุกซ์ ซำบายมากครับ อ้าว. . นอกเรื่องกันใหญ่ เรากำลังพูดเรื่อง ของการแบ่งฮาร์ทดิสก์ออกเป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนสามารถเป็นอิสระต่อกัน (เช่น Format ได้โดยไม่รบกวน ส่วนอื่นๆ ) เราเรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า การแบ่งพาติชั่น (partition)ครับ
โดยที่ เจ้าพาติชั่นนี้แบ่งได้ 2 ชนิดครับ คือในฮาร์ทดิสก์หนึ่งตัวจะแบ่งเป็นแบบ primary ได้ 4 ต้ว ในแต่ละprimary แบ่งเป็น extend ได้อีกโขเลยครับ แต่ว่าจะบูทได้เฉพาะแบบ primary เท่านั้นครับ สรุปว่าคุณ ติดตั้งระบบปฏิบัติการได้ 4 แบบ ในฮาร์ทดิสก์หนึ่งตัว (จริง ๆได้มากกว่านี้ ) ถ้าให้ลีนุกซ์ก็เอาไป 2 ส่วนครับ ส่วนแรกเป็นของการ ใช้งานจริง ควรจะมีขนาดตั้งแต่ 500 เมกะไบต์ขึ้นไปครับ สำหรับอีกส่วนนั้นเจ้าลีนุกซ์ จะเอาไปทำ swap file ครับ เขาแนะนำว่า ให้มี ขนาดเป็น 10% ของพาติชั่น แรกแต่ผมขอแนะนำไว้สำหรับเล่นคนเดียวไม่ได้เป็น server ก็แบ่งไว้สัก 50 เมกะไบต์ก็พอครับ
ในเมื่อต้องแบ่งพาติชั่นให้แต่ละระบบ ก็แปลว่ามันใช้งาน ฮาร์ทดิสก์ไม่เหมือนกัน ? ใช่แล้ว เราเรียกว่า ระบบไฟล์ไม่เหมือนกันครับ คือการเก็บข้อมูลลงบนฮาร์ทดิสก์ ของแต่ละระบบปฏิบัติการ ( Operating System ต่อไปนี้จะเรียกว่า os นะครับ) จะมีวิธีการเก็บข้อมูลในแบบของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ดอสจะมีระบบไฟล์ที่เราเรียกกันว่า FAT หรือพูดง่าย ๆว่าอยู่บทพาติชั่นที่เป็น FAT และวินโดว์ 98 ก็อยู่บน พาติชั่นที่พัฒนา มาจากดอสมันก็คือ VFAT หรือ FAT32 นั่นเอง
เข้าใจพาติชั่นกับระบบไฟล์ แล้ว ก็มาพูดถึงการแบ่งชุดโปรแกรม (Diskset) ของ slackware กัน โดยเขาจะแบ่งชุดโปรแกรมสำหรับติดตั้งออกเป็นชุด ๆ แยกออกตามหัวข้อ ต้องการชุดใดก็ ดาวโหลดมาเฉพาะชุดที่ต้องการก็ได้ แต่ชุด A เป็นชุดพื้นฐานที่ต้องมี คือเป็นตัวระบบของลีนุกซ์เองครับ
ชุด A จะเก็บระบบพื้นฐานที่จำเป็นในการใช้งาน ถ้าติดตั้งเพียงชุดเดียว ก็เพียงพอที่จะทำให้ระบบทำงานได้

ชุด AP แอพพลิเคชั่นหลายชนิด เช่น manual pages, term, joe, gosh-script
ชุด D เก็บเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม เช่น GCC, C++ ,make, C libraries และเครื่องมืออื่นๆ
ชุด E เก็บโปรแกรม GNU emacs (เอดิเตอร์ชนิดหนึ่ง)
ชุด F เก็บ FAQ (Frequently Asking Question) และเอกสารที่น่าสนใจอื่นๆ
ชุด K Source code of Linux kernel
ชุด N เก็บโปรแกรมที่ใช้งานเกี่ยวกับระบบเครื่อข่าย เช่น TCP/IP, UUCP, mailx, dip และอื่นๆ
ชุด T โปรแกรม Tex และ LaTex2e
ชุด TCL เก็บ Tcl, Tk, TclX
ชุด X เก็บโปรแกรมระบบ XFree86 (X window) และแอพพลิเคชั่นที่อยู่บนระบบ X window
ชุด XAP เก็บแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจที่อยู่บนระบบ X window เช่น Xfilemanager
ชุด XV โปรแกรมกราฟฟิกบนระบบ Xwindow
ชุด Y เกมส์ต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง BSD game, Tretis, Doom
* ทั้งหมดนี้เป็นคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้น อย่างง่าย ๆ ซึ่งในส่วนของการปฏิบัติจริง ๆ อาจมีความแตกต่างกัน เพราะลูกเล่น (tactic) อื่น ๆ ซึ่งจะทำให้มีวิธีการ ที่แตกต่างกันออกไปอีกก็ได้
ขั้นตอนต่อไปเป็นการทำแผ่นบูตดิสก์และรู ทดิสก์ สร้างโดยการคัดลอก image file ที่เราคัดเลือกแล้วว่า ตรงกับอุปกรณ์ที่เครื่องมี ลงไปบนแผ่น disk การคัดลอก image file สำหรับสร้าง boot disk ให้เลือกจากประเภทของ Harddisk ที่จะติดตั้งลงไป ว่าเป็นชนิด IDE หรือ SCSI ถ้าเป็น IDE ให้เลือก กลุ่มไฟล์นามสกุล ที่เป็น i เช่น bare.i ถ้าเป็น SCSI ให้เลือกกลุ่มไฟล์นามสกุล ที่เป็น s เช่น SCSI.S จากนั้นให้เลือกว่า ต้นฉบับของลีนุกซ์เป็นชนิดอะไร เช่น จาก cdrom ยี่ห้อ goldstar ก็ให้เลือก goldstar.i ถ้า source อยู่ใน harddisk ชนิด IDE หรือ cdrom IDE ทั่วไป แนะนำให้เลือก bare.i สำหรับการสร้างroot disk มี image ให้เลือก 4 ชนิด คือ color.gz, umsdos.gz, text.gz, pcmcia.gz โดยส่วนใหญ่แนะนำให้เลือก color.gz
IDE และ SCSI เป็นชนิดของอินเทอเฟส (interface) คือรูปแบบการติดต่อระหว่างฮาร์ทดิสก์กับเครื่อง โดย ide จะเป็นแบบที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป สำหรับ scsi จะมีความเร็วสูงมากกว่า ide แต่ราคาก็สูงกว่ามากเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว
ก่อนทำการติดตั้ง ผมขอแนะนำให้ใช้โปรแกรม จำพวกพาติชั่นเมจิกแบ่งพาติชั่นเก่า ที่มีอยู่พาติชั่นเดียวทั้งฮาร์ทดิสก์ ออกเป็นหลายๆ พาติชั่น โดยที่ข้อมูลไม่หาย (แต่อย่าไว้ใจนะครับ สำรองไว้แน่นอนกว่า ) และสามารถจะเซ็ทให้กลายเป็นพาติชั่นของ ลีนุกซ์ได้เลยโดยไม่ต้องใช้ fdisk ของลีนุกซ์ ซึ่งจะสามารถข้ามขั้นตอนการใช้งาน fdisk ไปได้เลย
สำหรับ หลัง จากทำแผ่นบูทและรูทเสร็จแล้ว ก็ให้บูทเครื่องด้วยแผ่นบูท จะปรากฏข้อความต้อนรับของ slackWare 3.4.0 ในตอนท้ายจะปรากฏ
Boot: ให้กดปุ่ม Enter ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ driver จะถูก Load ขึ้นมา และท้ายที่สุดจะปรากฏข้อความว่า
VFS : insert ROOT floppy disk to be loaded in to ramdisk and press Enter
ให้ใส่แผ่น ROOT disk แล้วกดปุ่ม Enter
จะมีข้อความ Slackware Login: ให้พิมพ์ root แล้วกดปุ่ม Enter
จาก นั้นจะได้ # (linux prompt) ต่อไปการแบ่งพาติชั่นของฮาร์ทดิสก์
การส ร้าง root partition
ที่ Linux prompt (#) ให้พิมพ์ fdisk แล้วกดปุ่ม Enter จะปรากฏข้อความ
Using /dev/hda as default device
Command (m for help) :
กดปุ่ม p แล้ว Enter เพื่อแสดง partition ที่มีอยู่เดิม
กด ปุ่ม n แล้ว Enter เพื่อสร้าง partitionใหม่ จะปรากฏข้อความ
Command action
e extended
p primary partition (1-4)
กดปุ่ม p แล้ว Enter จะมีข้อความ
partition number (1-4):
ให้กดปุ่มเลข 2 (หรือเลขที่ต่อจากที่มีอยู่เดิม) แล้ว Enter จะมีข้อความ
first cylinder (123-999): จำนวนในวงเล็บจะมีค่าต่างกันใน harddisk แต่ละตัว
ให้ ใส่หมายเลขชุดแรก ในที่นี้คือ 123 แล้วกดปุ่ม Enter จะมีข้อความว่า
last cylinder or +size or +sizeM or +sizeK ([123]-999):
ให้ใส่จำนวน (ขนาด) Mb ที่จะเป็น root partition (มันคือขนาดของพาติชั่นลีนุกซ์นั่นเอง) แล้วกดปุ่ม Enter
จากนั้นจะกลับไปที่ command(m for help): อีกครั้ง
กด ปุ่ม p แล้ว Enter จะเห็นว่ามี partition เพิ่มขึ้นมา
การสร้าง swap partiton
การสร้าง swap partition ก็คือการสร้าง พาติชั่นเหมือนขั้นตอนข้างบน แต่หลังจากสร้างแล้ว จะมีการเปลี่ยน ID ให้เป็น linux swap นั่นเองครับ
ที่ command (m for help): กดปุ่ม n แล้ว Enter
จะมีข้อความ
Command action
e extended
p primary partition (1-4)
กดปุ่ม p แล้ว Enter จะมีข้อความ
partition number (1-4):
กดปุ่ม 3 แล้ว Enter (เลขที่ต่อจากเมื่อกี้ไง ในที่นี้เป็น 3 ) จะมีข้อความ
first cylinder (606-999):
ให้ใส่ หมายเลขชุดแรก ในที่นี้คือ 606 แล้ว Enter จะมีข้อความ
last cylinder or +size or +sizeM or +sizeK ([606]-999):
ให้ใส่ขนาดที่ต้องการหรือ หมายเลขตัวหลัง หมายถึงใช้เนื้อที่ที่เหลืออยู่ทั้งหมด
ในที่นี้คือ 999 แล้วกดปุ่ม Enter
* อธิบายตรงนี้นิดหนึ่งครับ ว่าถ้าเราคำนวณขนาดที่เหลือจากการสร้าง partition เอาไว้แล้ว
(ขนาด ฮาร์ดดิสก์ - (ขนาดพาติชั่นเดิม + root partition) = จำนวนฮาร์ดดิสก์ที่เหลือ)
ก็จะเป็นการง่ายและไม่เหลือฮาร์ดดิสก์ทำ swap มากเกินไป
การเปลี่ยน ID ให้เป็น swap partition
ถ้าใช้คำสั่ง p จะปรากฏ partition ขึ้นมาใหม่อีก 2 partition (ที่สร้างเอาไว้เมื่อสักครู่)
ซึ่งจะเป็น ชนิด linux native อยุ่ทั้งคู่ ในที่นี้จะต้องเปลี่ยนให้เป็น linux swap เสีย 1 พาติชั่น (ตามที่เราตั้งใจไว้)
ที่ command (m for help): ให้กดปุ่ม t แล้ว Enter จะมีข้อความ
partition number (1-4): ให้กดเลข 3 แล้ว Enter (หรือหมายเลข partition ที่ต้องการให้เป็น swap)
จะมีข้อความ Hex code (type l to list code):
ให้พิมพ์หมายเลข 82 แล้วกดปุ่ม Enter จะมีข้อความ
Changed system type of partition 3 to 82 (linux swap)
ใช้ คำสั่ง w เพื่อเขียน partition ลงบน harddisk (save & exit)
จาก นั้นจะกลับไปที่ linux prompt (#)
ที่ root prompt (#) พิมพ์ setup
จะ มีกรอบ Slackware Linux Setup (Version 3.4.0) ขึ้นมา
SLACKWARE LINUX SETUP (VERSION 3.4.0)
HELP Read The slackware setup help file
KEYMAP Remap your keyboard if you're not using a US one
MAKE TAGS Experts may customize tag files to preselect packages
ADDSWAP Setup your swap partion(s)
TARGET Setup your target partitions
SOURCE Select source media
DISK SET Decide wich desk sets you wish to install
INSTALL Install selected disk set
CONFIGURE Reconfigure you linux system
EXIT Exit slackware linux setup
1.Setup swap
ให้ เลือกที่ Add Swap แล้ว Enter
จะแสดงกรอบ Swap space detected
ให้ เลือกที่ /dev/hda3 หรือที่ swap ที่ต้องการแล้ว Enter
จะมีกรอบ MKswap Warning ให้กด Enter
จะมีกรอบ Use Mkswap ให้เลือก Yes แล้ว Enter
จะ มีกรอบ Active swap space ให้เลือก Yes แล้ว Enter
จะมีกรอบ Swap space configured ให้กด Enter
จะมีกรอบ continue with installation ให้เลือก NO และจะกลับไป รายการหลัก
2.กำหนด partition ที่จะติดตั้ง
ให้ เลือกที่ Target แล้ว enter
จะมีกรอบ Select Linux Installation Partition
ให้เลือก Partition ที่จะให้ติดตั้งหรือที่สร้างไว้นั่นเอง แล้ว enter
จะมีกรอบ Format Partition
ให้เลือกที่ Format Quick format with no bad block checking แล้ว enter
จะมีกรอบ Select Inode density
ให้เลือก 4096 1 inode per 4096 bytes (default) แล้ว enter
จะ ทำการ Format Partition
จะมีกรอบ Dos and OS/2 Partition setup ให้เลือก No แล้ว enter
จะมีกรอบ continue with installation ให้เลือก NO และจะกลับไป รายการหลัก
3.กำหนด Source
ให้เลือกที่ Source แล้ว enter
จะมีกรอบ Source media selection ให้ enter
ให้เลือก 5 install from CD-ROM แล้ว enter
จะมีกรอบ Install from the slackware CD-ROM
ให้เลือกชนิดของ CD-ROM ให้เลือกที่ Scan try to scan for your cd-drive
จะมีกรอบ CD-ROM drive detected successfully ให้ enter
จะ มีกรอบ Pick your installation method
ให้เลือก slackware Normal installation to hard drive แล้ว enter
จะมีกรอบ Continue ให้เลือก Yes แล้ว enter
4.เลือกชุดโปรแกรมที่จะติดตั้ง
จะมีกรอบ Disk set ขึ้นมา
ในเบี้องต้นนี้ ให้เลือก Disk set A,AP,D,N,X,XP,XV โดยการกดปุ่ม Spacebar เลือกแล้ว enter
จะมีกรอบ Continue ให้เลือก Yes แล้ว enter
จะมีกรอบ Select promping mode
ให้เลือกที่ Menu Choose package subsystems from interactive menus แล้ว enter
จะมีกรอบ selecting software from series A
ให้เลือก ibcs2,pnp,getty เพิ่มเติม แล้ว enter จะทำการติดตั้งโปรแกรมตามที่ได้เลือกไว้
จะมีกรอบ selecting software from series AP
ให้เลือก workbone,mc,mt_st เพิ่มเติม
จะมีกรอบ selecting software from series D
ไม่ต้องเลือก เพิ่มเติม
จะมีกรอบ selecting software from series N
ให้เลือก dip,ppp,pine,lynx เพิ่มเติม
จะมีกรอบ selecting software from series X
จะมีกรอบให้เลือก การ์ดแสดงผล ให้เลือกให้ใกล้เคียงกับการ์ดที่มีอยู่ในเครื่อง ถ้าไม่ทราบ ให้เลือก X331 svga
จะมีกรอบ selecting software from series X ไม่ต้องเลือกเพิ่มเติม
จะมีกรอบ selecting software from series XAP
ให้เลือก arena,xfm,xfileman,xgrame เพิ่มเติม
จะมีกรอบ selecting software from series XV ไม่ต้องเลือกเพิ่มเติม
จะมีกรอบ install linux kernel ให้เลือกที่ bootdisk แล้ว enter
ให้ใส่แผ่น bootdisk ที่เคยจัดทำไว้แล้ว ใน drive A: แล้ว enter
5.การ configure modem,mouse
จะมีกรอบ configure your system ให้เลือกที่ Yes แล้ว enter
จะมีกรอบ Make bootdisk ให้เลือกที่ continue แล้ว enter
จะ มีกรอบ Modem configuration ถ้ามี modem ให้เลือก Yes
จะมีกรอบ Select callout device ให้เลือก port ตามต้องการ โดยมากจะเป็น com2
จะมีกรอบ Mouse configuration ให้เลือก Yes แล้ว enter
จะมีกรอบ select mouse type
ถ้าใช้ mouse PS/2 ให้เลือกข้อ 2 ถ้าใช้ serial mouse ให้เลือกข้อ 1
จะมีกรอบ screen font configuration ให้เลือก NO
6.การติดตั้ง Lilo
จะมีกรอบ Lilo installation ให้เลือกที่ begin
จะมีกรอบ Optional append=line ให้กด enter
จะมีกรอบ Select Lilo target location
ให้เลือก MBR แล้ว enter
จะมีกรอบ Choose Lilo delay ให้เลือก 5 seconds
จะกลับมาที่ กรอบ Lilo installation
ให้เลือก ที่ Dos add a Dos partition to the Lilo config file แล้ว enter
ให้ พิมพ์ partition ที่เป็น dos ในที่นี้คือ /dev/hda1 ลงไปในช่องว่างแล้ว enter
จะมีกรอบ Select partition name ให้พิมพ์คำว่า dos ลงไป แล้ว enter
จะมีกรอบ Lilo installation ขึ้นมาอีกครั้ง
ให้เลือก Linux add a linux partition to the Lilo config file แล้ว enter
จะมีกรอบ Select linux partition
ให้ดูด้านบน จะมี Partition ของ Linux ขึ้นมา ให้เลือกอันที่เป็น root partition เช่น /dev/hda2 ให้พิมพ์ /dev/hda2
ลง ไปในช่องว่าง แล้ว enter
จะมีกรอบ Select partition name ให้พิมพ์คำว่า linux ลงไป แล้ว enter
จะมีกรอบ Lilo installation ขึ้นมาอีก
ให้ เลือก install install lilo แล้ว enter
7.ขั้นตอนสุดท้าย
จะ มีกรอบ configure network ให้เลือก no ถ้าไม่มี network
จะมีกรอบ GPM configuration ให้เลือก No
จะมีกรอบ sendmail configuration
ให้ เลือก smtp+bind แล้ว enter
จะมีกรอบ Time Zone configuration
ให้ เลือก Asia/bangkok แล้ว enter
จะมีกรอบ setup complete แล้ว enter
จะ กลับมาที่ MENU หลัก ให้เลือก Exit
จะกลับมาที่ Linux prompt (#) ให้ถอด แผ่นดิกส์ออก
พิมพ์คำว่า reboot เพื่อทำการ boot เครื่องใหม่
จะ มีคำว่า LILO ขึ้นมา
ให้รอประมาณ 5 วินาที Dos หรือ Windows จะเริ่มทำงาน
หากไม่ต้องการ boot Dos ให้กดปุ่ม Shift ค้างไว้ จะมีคำว่า boot: ขึ้นมา
ให้พิมพ์คำว่า linux ถ้าต้องการ boot Linux
ถ้า กดปุ่ม tab จะมีตัวเลือกให้เลือก
ชนิดของไฟล์ 3 ชนิด
-- User data.ข้อมูลต่าง ๆของคุณเอง (user) เป็นข้อมูลแบบง่าย ๆ ที่อยู่ในรูปตัวหนังสือและตัวเลข.
-- System data. ข้อมุลต่าง ๆ บ่อยครั้งที่ข้อมูลเหล่านี้อยู่ในรูปของ text file ข้อมูลเหล่านี้ถูกใช้งานโดยตัว linux เอง
-- Executable files. เป็น file บรรจุคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ หรือที่หรือที่เรียกกันว่า program นั่นแหละครับ ชื่อไฟล์ Linux สามารถตั้งชื่อไฟล์ได้ยาวถึง 256 ตัวอักษร (ไม่ใช้win95ทำได้คนเดียวนะ) ซึ่งแตกต่างกัน ระหว่างตัวเล็กและตัวใหญ่ ใช้เครื่องหมาย dash(-) underscore(_) และ dot(.) ได้แต่ไม่สามารถใช้ ! ? \ และช่องว่าง (space) เพราะเครื่องหมายเหล่านี้หมายถึงตัว shell ครับ ..
Home Directory
คือ ไดเรกทอรี่ส่วนตัว ไว้สำหรับยุสเซอร์ต่าง ๆ ที่ linux ได้จัดเตรียมไว้ให้ แล้วทำไมต้องมี home กันไว้ด้วยหล่ะ ก็คือไดเรกทอรี่ที่คุณมีสิทธิเต็มที่ ซึ่งจะกล่าว เรื่องสิทธิ (Permissions) ต่อไปครับ
File and Directory Ownership
หลังจากคุณสร้างไฟล์หรือไดเรกทอรี่ มันก็จะระบุว่ามันเป็นของคุณ (เพื่ออ้างสิทธิ) และคุณสามารถโอนให้กลายเป็นของคนอื่นๆ ได้อีกด้วย : chown ระวัง! โอนไปแล้วจะโอนกลับไม่ได้นะ....
File Permissions
linux จะระบุสิทธิในการ อ่าน เขียนและทำงาน ของไฟล์ เรียกว่าค่า Permission สามารถกำหนดให้มีค่า 3 ค่าดังนี้
ค่า (R) read สำหรับสิทธิในการมองเห็น
ค่า (W) write สำหรับสิทธิในการเปลี่ยนแปลงหรือลบไฟล์ (และถ้าเป็นไดเรกทอรี่ จะเป็นสิทธิสำหรับสร้าง,ย้ายและลบ )
ค่า (X) exeute สำหรับสิทธิในการเรียกใช้ (และถ้าเป็นไดเรกทอรี่ จะเป็นสิทธิสำหรับ การเข้าสู่ directory )
ซึ่ง(r,w,x )3 ค่านี้กำหนดไว้สำหรับ 3 กลุ่มผู้ใช้ คือสำหรับ owner(เจ้าของ) group(กลุ่มเดียวกับเจ้าของ) orther(ทุกคน) ซึ่งจะวางค่า Permission สามค่าติดกัน สำหรับหนึ่งกลุ่มผู้ใช้คือ rwx และจะว่างติดไปสามชุดสำหรับสามกลุ่มผู้ใช้ (rwxrwxrwx) ชุดแรกของ owner ชุดที่สองของ group และชุดที่สามสำหรับ orther ดูได้จาก ls -l
-rw-r--r-- 1 ar users 163 Dec 7 14:30 ar_file
ตัว แรกเป็นเครื่องหมายสำหรับบอกลักษณะของไฟล์ ตัวแรกเครื่องหมาย '-' หมายถึงเป็นไฟล์ธรรมดา ถ้าเป็นไดเรกทอรี่ก็จะเป็นเครื่องหมาย 'd' แทน
r = อ่าน (มีค่าเป็น 4)
w = เขียน (มีค่าเป็น 2)
x = ทำงาน (มีค่าเป็น 1)
'-' = ไม่มีสิทธินั้น ๆ (มีค่าเป็น 0) สรุปได้ว่า :
-rw-r--r-- 1 ar users 163 Dec 7 14:30 ar_file
owner มีสิทธิอ่านและเขียน(หรือลบ) คือ r + w
group มีสิทธิอ่านอย่างเดียว คือ r
orther มีสิทธิอ่านอย่างเดียว คือ r
และเรายังสามารถเขียน เป็นตัวเลขได้ (r = 4),(w=2),(x=1) คือ rw-r--r-- (แบ่ง 3 ชุดเหมือนเดิม)
'rw-' = 4 + 2 + 0
'r--' = 4 + 0 + 0
'r--' = 4 + 0 + 0
นำมาต่อกัน เป็น 644 (ง่ายดีมั๊ย)
สำหรับการระบุค่าเป็นตัวเลขนี้จะใช้ประโยชน์ต่อ การเปลี่ยน Permissions ของไฟล์ครับ การเปลี่ยน Permissions ของ ไฟล์ ใช้คำสั่ง chmod <สิทธิเป็นตัวเลข> <ชื่อไฟล์> การเปลี่ยน Permissions ของ ไดเรกทอรี่ ก็เหมือนกับของ file นั่นแหละต่างกันตรงค่าของ x จะหมายถึงสิทธิที่จะเข้าไปในไดเรกทอรี่นั้นๆครับ
Directory ที่สำคัญต่าง ๆ
/ ก็ root หรือห้องชั้นนอกสุดคุณจะออกไปไม่ได้อีกแล้วครับ
/home home directoryของผู้ใช้ต่าง ๆ
/dev Linux ทำทุกอย่างเป็นไฟล์ เจ้าห้องนี้เก็บเป็น device ของทุกอย่างไว้ครับ ไม่ว่าจะเป็น diskdrive,harddisk เป็นต้น
/bin เก็บคำสั่งพื้นฐานของ Linux
/usr/bin Linux โปรแกรม
/usr/sbin เก็บไฟล์ของ ผู้ดูแลระบบ (system administration)
/var/spool mail,print file etc.
/sbin ไฟล์ระบบ(system) ของ Linux
/etc เก็บ configuration ไฟล์ (ค่าต่าง ๆของระบบ)
คำสั่งเบื้องต้นเกี่ยวกับบทนี้ครับ
-- ls ดูรายชื่อไฟล์ (เหมือน dir ของ dos)
-- pwd เอาไว้ดูว่าตอนนี้คุณอยู่ที่ไดเรกทอรี่ใหน.
-- cd (chang directory) ใช้คล้าย ๆ cd ของ dos นั่นแหละครับ
-- cp สำเนาไฟล์ (copy ของ dos)
-- mv ย้ายไฟล์-ไดเรกทอรี่ (move ของ dos)
-- mkdir สร้าง ไดเรกทอรี่ (mk ของ dos)
-- rmdir ลบ ไดเรกทอรี่ (rm ของ dos)
-- . และ .. คือ เจ้า . ใช้อ้างถึง directory ที่คุณอยู่ในขณะนั้น ส่วนเจ้า .. ใช้อ้างถึง ไดเรกทอรี่ก่อนหน้าที่คุณอยู่ 1 ชั้นครับ วิธีใช้ cd กับ . และ ..ก็ต่างจาก dos เล็กน้อยคือ คุณจะพิมพ์ cd.. ไม่ได้ครับ ต้องเว้นก่อน เป็นยังงี้ครับ cd ..
-- cat เป็นคำสั่งพื้นฐานสำรับ input,output (ใช้สร้างไฟล์ได้)โดยปกติ จะใช้ keyboard เป็น input และจอภาพแป็น output และใช้ ^d (Ctrl + d) เป็นการจบการทำงาน
-- chmod <สิทธิเป็นตัวเลข> <ชื่อไฟล์> เปลี่ยน Permissions ของไฟล์,ไดเรกทอรี่ .
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://game69.thai-forum.net
 
Linux มาทำความรู้จักกานครับ
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» linux mint กันรึยัง(โหลดด้านใน+วิธีการใช้งาน+ของตกแต่งหน้าจอสวยๆ)

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Thailandfreedom-ฟรีดาวน์โหลด โปรแกรม,เพลง :: Download :: OS ระบบปฏิบัติการ-
ไปที่: